วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปความรู้ Google Docs

สรุปความรู้ Google Docs

Google Docs เป็นโปรแกรมด้านการจัดการเอกสารในสำนักงานในระบบออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมตัวอื่น เพียงแต่มีโปรแกรมเว็บบาร์วเซอร์ (Web browser) เช่น IE , FrieFox ฯลฯ เมื่อเปิดเบาร์วเซอร์และเข้าอินเทอร์เน็ตได้ผ่านทางเว็บ Google ซึ่งต้องสมัครเป็นสมาชิก Gmail ก่อน ถึงจะใช้งานได้ Google Docs http://docs.google.com/ ก็สามารถใช้บริการต่างๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันมีบริการครอบคลุมโปรแกรมหลัก ดังนี้

1) โปรแกรมพิมพ์เอกสาร (Document) ==> (เปรียบเหมือนกับ MS-word)
2) โปรแกรมกระดาษทำการอิเล็กทรอนิกส์ (Spreadsheets) ==> (เปรียบเหมือน MS-excel ซึ่งสามารถ upload มาใช้ร่วมกันได้)
3) ในส่วนของการสร้างแบบฟอร์ม (Form) ==> ซึ่งสร้างได้ง่ายมาก เพราะมีแบบฟอร์มสำเร็จรูปให้เลือก มีตัวเลือกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแบบเติมคำสั้นๆ , แบบตัวเลือกหลายๆตัวเลือก, แบบคำตอบยาวๆ. ซึ่งส่วนนี้ เป็นสีสันในการสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือ การนำไปประยุกต์ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการวิเคราะห์ และแปรผล.
ส่วนของ Spreadsheets และ Form มันเป็นส่วนที่ใช้งานร่วมกันได้ เพราะเป็นการสลับมุมมองของกันและกัน
4) การนำเสนองาน (Presentation) ( อันนี้ก็เหมือน Power point ซึ่งสามารถสร้างขึ้นใหม่ด้วยตนเอง หรือ upload ไฟล์ Power point ที่มามาใช้ในรูปแบบของ Google docs Presentation ก็ได้

ซึ่งทั้งหมดนี้ มีจุดเด่น คือ ความสามารถในการแบ่งปัน (Sharing) และ การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative) ที่สามารถกำหนด ผู้เข้าร่วม พร้อมสิทธิการใช้งาน ไม่ว่าจะสามารถแก้ไขจัดการข้อมูลได้ หรือ สามารถดูได้อย่างเดียว. ทั้งนี้ข้อดีอีกประการหนึ่งคือ เรื่องของการ Back up ข้อมูล คือ เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล Google Docs ยังได้เก็บไฟล์ที่ผู้ใช้แต่ละท่านเข้ามาแก้ไขด้วย เช่น หากคนสุดท้ายเข้ามาลบข้อมูล ก็ยังมีร่องรอยข้อมูลที่ผู้เขียนคนก่อนแก้ไขไว้ (อันนี้ดิฉันไม่แน่ใจว่า จะ Back up ได้กี่ระดับ ) ซึ่งในส่วนนี้หากนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การเรียนรู้ร่วมกันนี้ ครูก็สามารถรู้ได้ว่า มีผู้ใดเข้ามาร่วมทำงานได้ตามเป็นจริง โดยที่มีร่องรอยการทำงานปรากฏให้เห็น และสุดท้าย เมื่องานที่ปรับปรุงแก้ไขเสร็จแล้ว ก็สามารถกำหนดว่า Publish หรือ เผยแพร่ แก่สาธารณะชนได้

ข้อเสนอแนะในการใช้งาน Google Docs หากเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน สมาชิกในทีมควรมีความเต็มใจ และร่วมแรงร่วมใจกัน ถึงจะทำให้การเรียนรู้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า และเกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น